Manga Course Party...
เห็นชื่อบทความในครั้งนี้แล้ว อาจจะพาลทำให้งวยงงกันสักเล็กน้อย 555 แต่พิมพ์ไม่ผิดแน่นอนครับ
"สีผสมอาหาร" ในที่นี้คืออะไร เดี๋ยวเราค่อยมาว่ากัน....
ขอ อนุญาติเท้าความสักหน่อย...ย้อนกลับไปเมื่อราวๆเกือบสิบปีก่อน ผมเคยทำงานอยู่ในสถาบันสอนศิลปะเด็กแห่งหนึ่ง และสียอดนิยมที่ทางสถาบันนั้นใช้สอนเด็ก เป็นสีน้ำใสๆ ไม่มีตะกอน ไม่มีเนื้อสีอะไรเลย มีลักษณะคล้ายสีหมึกมากๆ แต่ไม่กันน้ำ ไม่มีกลิ่น สีสดใส และไม่เป็นอันตรายแก่เด็กๆผู้ใช้อีกด้วย.....แน่นอนครับว่าสีที่ผมกำลังพูด ถึงอยู่นี้ คือ "สีผสมอาหาร" นี่แหละ อีกเกือบสิบปีต่อมา ผมจึงคิดที่จะทำเจ้าสีผสมอาหารนี้ขึ้นมาใหม่ และลองเอามาใช้กับงานระบายสีภาพการ์ตูนดู
สรรพคุณ ก็ตามที่ได้กล่าวไป สีผสมอาหรเป็นสีที่ไม่มีเนื้อสีเลย มีลักษณะเป็นเพียงน้ำใสๆที่มีสีสดๆ ดูเผินๆจะเหมือนกับสีหมึกมากๆ แต่ก็ไม่ใช่ มีลักษณะโปร่งแสงมากๆ ระบายให้เรียบเนียนได้ง่าย
แต่ข้อควรระวังคือเนื่องจากมีสีที่สดมาก การระบายจึงต้องคุมทั้งปริมาณน้ำและปริมาณสีให้ดี จึงจะได้สีหรือค่าของสีที่ต้องการ
เฉดสีที่ผมหาซื้อวัถุดิบมาผสมเอง มีดังนี้ครับ
จะ เห็นว่าก็มีแต่เพียงสีหลักๆทั่วๆไป ซึ่งมีเท่านี้ก็เพียงพอสำหรับการนำมาผสมสีใหม่ด้วยตัวเองแล้ว และถ้าเรากะปริมาณหรืออัตราส่วนในการผสมสีอื่นๆได้อย่างพอเหมาะ สีผสมอาหารก็จะกลายเป็นอีกสีชนิดหนึ่ง ที่สามารถผสมเฉดสีออกมาได้ไร้ขีดจำกัดตามใจเราเลยทีเดียวครับ
แต่ก่อนจะสาธิตการระบายให้ดู ผมจะมาแนะนำเทคนิคทั่วๆไปที่จำเป็นสำหัรบการใช้สีผสมอาหารก่อน...
อันดับแรกเลย คือ...ตามที่บอกไปข้างต้นครับ การคุมปริมาณน้ำและปริมาณสีนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่สุดสำหรับสีชนิดนี้ เพื่อให้ได้ค่าความเข้มของสีที่พอเหมาะแก่การระบายหรือผสมสี ผมจะลองทำตัวอย่างอัตราส่วนการใช้สีผสมกับน้ำให่อัตราส่วนต่างๆมาให้ดูกัน ครับ
จากภาพข้องล่าง เลขข้างหน้าที่เป็น1 คือปริมาณสี1ส่วน ส่วนเลขข้างหลังเป็นปริมาณน้ำส่วนต่างๆที่ใช้ลงไปผสมกับสีครับ เช่น 1/4 ก็คือสี1ส่วน ต่อน้ำ4ส่วนนั่นเอง
จะ เห็นได้ว่าแม้ผสมอกับน้ำที่มากกว่าตัวสีถึง7-9เท่า สีก็ยังคงความสดใสอยู่ ซึ่งเราควรจะเจือจางสีและทดสอบสีที่เราเจือจางแล้วกับกระดาษtester ก่อนลงมือระบายทุกครั้ง เพื่อความชัวร์ครับ
ต่อไปจะเป็นเทคนิคทั่วๆไปที่ใช้ในการระบายสีผสมอาหารนี้
การระบายแบบแห้งบนแห้ง และแห้งบนเปียก จุดประสงค์แบบเดียวกับสีน้ำ
การไล่น้ำหนักสี จากเข้มมาหาอ่อน
การไล่สี จากเฉดหนึ่งไปหาอีกเฉดหนึ่ง เพื่อให้ภาพทีสีที่ดูน่าสนใจขึ้น
และด้วยคุณสมบัติของสีผสมอาหารที่ไม่สามารถกันน้ำได้ เราจึงสามารถใช้เทคนิคหยดน้ำลงไปบนภาพ
แล้วใช้ทิชชู่ซับน้ำออก ให้เกิดคราบด่าง หรือช่วงลดค่าของสีที่ซับออกให้เข้มน้อยลงได้ครับ
โดยที่ทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นเทคนิคที่เราต้องฝึกใช้ให้คล่อง ให้ชินมือกับสัมผัสของสีครับ เพราะเนื่องจาก
สี ผสมอาหารนี้ จะว่าเป็นสีหมึกก็ไม่ใช่ สีน้ำก็ไม่เชิง เหมือนรวมหลายๆคุณสมบัติจากสีอื่นๆเข้ามาไว้รวมกันมากกว่า การใช้สีชนิดนี้จนชิน และดึงเอาศักยภาพของมันออกมาใช้ได้ จะเป็นเรื่องดีที่สุดครับ
ข้อดีอีกอย่างของสีผสมอาหารคือการทำความสะอาดที่ง่ายแสนง่าย.....
เพียงหยดๆน้ำลงไปในหลุมของจานสีที่มีสีผสมอาหารอยู่ และใช้ทิชชูเช็ดออกเบาๆ
โอ้ซาร่า! คุณดูสิ! มันสะอาดเอี่ยมอ่องเหมือนใหม่อย่างง่ายดาย!
5555555555555555555555555
เอาล่ะ เกริ่นมานานแสนนาน เรามาลองทดสอบการระบายจริงดูเลยดีกว่าครับ....
เริ่มด้วยการเจือจางสีก่อน ซึ่งแนะนำให้เลือกสีทีใช่ ผสมสีที่ชอบไว้ และแบ่งแยกออกมา
ผสม น้ำลงไปเพื่อลดค่าของสีลงก่อน ค่อยๆระบายจากอ่อนไปหาเข้มจะปลอดภัยที่สุดครับ เพราะสีผสมอาหารนี้ ยิ่งระบายทับกันด้วยสีเดิม ค่าของสีก็จะเข้มขึ้นเรื่อยๆจนกว่ามันถึงจุดอิ่มตัวของสีๆนั้น
จาก นั้น หากต้องการระบายสีที่เข้มขึ้น ก็สามารถใช้สีเดิมระบายทับลงไปก็ได้ตามที่บอกไป หรือผสมสีใหม่ขึ้นมาโดยอาหารสีเดิมเป็นสีหลักในการผสมด้วย เพื่อระบายสีในส่วนที่เข้มขึ้น และยังคงแฝงเฉดสีเดิมเอาไว้ ไม่ให้สีที่ระบายทับลงไปนั้นดูโดดจากสีพื้นสีเดิมจนเกินไป
หลักๆเราก็จะใช้วิธีนี้ระบายทั่วทั้งภาพในแต่ละจุดครับ ส่วนการเลือกสีมาใช้นั้น ก็คงแล้วแต่ความต้องการ
จินตนาการ หรือตามหลักทฤษฎีสีของตัวผู้ใช้เอง
ข้อ ดีอีกข้อหนึงของสีผสมอาหารคือ ถ้าเราใช้วิธีระบายแบบแห้งบนแห้ง ขอบของสีนั้นจะมีความคมชัดมากๆ เอามาใช้ตัดเส้นงานเสริมมิติภาพลงไปได้สบายๆด้วยพู่กันเลยครับ
และในกรณีที่เราไม่สามารถทำงานจนเสร็จได้ภายในวันเดียว.....ไม่จำเป็นต้องล้างจานสีครับ ปล่อยทิ้งไว้ให้สีแห้งได้เลย
และ ถ้าเราอยากจะใช้งานใหม่ ก็เพียงหยดน้ำลงไปในสี แล้วคนๆๆๆสักเล็กน้อย สีก็จะละลายน้ำอย่างรวดเร็ว พร้อมกลับมาใช้งานได้ใหม่ เหมือนสีน้ำเลยชิมิล่า 555
สีที่ระบายยาก และผสมอยากที่สุดตามความรู้สึกผมสำหรับสีผสมอาหรนี้ คงยกให้กับพวกตระกูลสีเนื้อเลยครับ
เพรานอก จากจะต้องคุมทั้งปริมาณน้ำ ทั้งปริมาณสีที่เลือกมาผสม ยังต้องค่อยๆผสมไปเรื่อยๆ testสีกับกระดาษ testerไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้สีเนื้อที่ต้องการ
หนำซ้ำการลงสีเนื้อนั้นยังต้องใจเย็นสุดๆครับ
ต้อง ค่อยๆลงบางๆให้เรียบทีละชั้น ต้องเลือกผสมใหม่ให้ได้เงาของสีเนื้อใช้ชั้นถัดๆไป และต้องรีบลงให้ให้สีแห้งจนเกินไป มิฉะนั้นจะเกลี่ยสียากและเป็นรอยด่างได้ง่ายๆ
เป็นส่วนที่ต้องพิถีพิถันและใจเย็นเป็นที่สุดเลยครับ
(เวลาอ่าน ให้นึกเสียงแบบคนพากย์รายการทีวีแชมเปี้ยนไปด้วย จะได้อารมณ์มากครับ 5555555)
ที่เหลือก็เก็บรายละเอียดไปเรื่อยๆครับ ขอแค่ระวังอย่าระบายให้ไปเลอะสีเนื้อก็พอ เพราะจะแก้ไขยากมากๆ
และด้วยคุณสมบัติการระบายแห้งบนแห้งที่ได้ขอบสีที่คม เราจึงเอาความสามารถมาณนี้มาใช้สร้าง
เทคเจอร์ในผลงานได้ครับ เช่นกางเกงยีนส์ ผมใช้วิธีระบายแบบสานเส้นขัดกันไปมา จนได้เทคเจอร์ของลายผ้ายันส์ อย่างที่เห็น
และถ้าสีไหนดูเข้มไป ก็ใช้เทคนิคทาน้ำบางๆแล้วค่อยๆซับสีออกทีละนิดได้ครับ จนกว่าจะพอใจ
ที่เหลือ เราสามารถตกแต่งภาพด้วยปากการเจลสีขาวครับ ไม่ว่าจะเป็นการเว้นขอบขาว เติมประกายตา หรือ ทำไฮไลท์นั่นนู่นนี่
สุดท้ายแล้วถ้าหากขี้เกียจใช้สีกับพู่กันในการตัดเส้น เราก็สามารถใช้ปากกาตัดเส้นตัดทับลงไปได้ครับ
แต่ต้องแน่ใจก่อนนะว่าสีได้แห้งหมดแล้ว ไม่เช่นนั้นแล้วคงตัดเส้นทับไม่ติดแน่ๆ
ในที่นี้ ผมใช้ปากกาสีเทาในการตัดเส้นครับ เพื่อไม่ให้ภาพแข็งจนเกินไป ถ้าใช้ปากกาดำ
เสร็จล๊าวว
สุดท้าย เราสามารถเอาภาพไปสแกนและปรับสีได้ตามใจชอบในcomputerได้ครับ แต่แนะนำว่า
ให้สแกนด้วยความละเอียดสูงๆหน่อยนะ แต่ข้อเสียคือจะปรับสีให้ปรับกับภาพต้นฉบับได้ยากครับ...
อันนี้คงต้องทำใจกันหน่อย 55555 เราก็ปรับให้มันดูdigitalขึ้นหน่อยแทนละกัน
ดูไม่ยาก และก็เหมือนการระบายสีอื่นๆทั่วๆไปใช่ไหมล่ะครับ สำหรับเจ้าสีผสมอาหารนี้
แต่ ย้ำนักย้ำหนาเลยว่า ความยากของมันอยู่ที่การคุมปริมาณน้ำและปริมาณสีให้เหมาะสม ไม่ต่างอะไรจากการระบายสีน้ำเลย แต่ด้วยลูกเล่นอื่นๆที่ถูกเพิ่มติมเข้า อีกทั้งยังมีสีสันที่สดใส ระบายให้เรียบได้ง่าย
ทำความสะอาดง่าย ทำให้สีผสมอาหารนี้เป็นอีกสีหนึ่งที่อยากจะแนะนำให้หามาผสมอใช้กันดูครับ
สีสันสดใสๆเหล่านี้น่าจะเหล่ากับคนที่ชื่นชอบในความสดของมัน หรือจะผสมไว้ให้เด็กๆน้องๆที่บ้าน
ได้ใช้เล่นกัน ก็ปลอดภัยดี
..............................................................
tip เพิ่มเติม สำหรับสีผสมอาหาร
-สีผสมอาหาร ควรเลือกซื้อสีผงเกรดดีๆ มาผสมเก็บใส่ขวดไว้ ไม่ควรใช้สีถูกๆเกินไปที่ไมได้คุณภาพ
-สิ่งที่ควรระวัง และควรทำในทิ่งโล่ง คือขั้นตอนการผสมสีใส่ขวดครับ (ผมทำเลอะบ้านมาแล้ว 5555)
-กระดาษที่ใช้คู่กับสีผสมอาหาร ควรเป็นกระดาษที่มีความหนามากๆ ในที่นี่ผมใช้กระดาษสีน้ำ300แกรม
เพราะเนื่องจากสีผสมอาหารไม่มีเนื้อสี เป็นแค่น้ำเพียวๆที่มีสี ก็เหมือนกับการที่เราเอาแต่น้ำลงไประบาย
บนกระดาษครับ จึงควรใช้กระดาษที่ทนต่อการลงน้ำเยอะๆหน่อย
-จาน สีที่ใช้ แนะนำให้ใช้จานสีหลุมเล็กๆราคาถูกๆ ครั้งละ2ถาดเป็นอย่างน้อย เพราะเราต้องแยกสีมาผสมเพื่อใช้ง่านบ่อยๆ และไม่แนะนำจานสีแบบหลุมใหญ่ๆกว้างๆครับ
-หลังระบายงานเสร็จแล้ว ห้ามถูกความชื้นโดยเด็ดขาดครับ
-สีผสมอาหาร สามารถใช้กับg-penได้!!!
แสดงความคิดเห็น